พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มีการกำหนดใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 ที่มีเจตนารมณ์ให้คนพิการได้มีโอกาสใช้ความสามารถในการมีรายได้และพึ่งพาตนเองลดภาระของครอบครัวและสังคม ประกอบด้วย
มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา 100 คนต่อ คนพิการ 1 คน (โดยนับจำนวนผู้ปฏิบัติงานเพื่อคำนวณจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของแต่ละปี)
มาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน คูณด้วยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน
มาตรา 35 กรณีที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานตาม มาตรา 33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนตาม มาตรา 34 หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าของสถานประกอบการ อาจให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือการช่วยเหลือต่าง ๆ ให้กับคนพิการ/ผู้ดูแลได้
มูลนิธิฯ เรามีรูปแบบริการให้ท่านได้เลือกใช้บริการจ้างานคนพิการตาม มาตรา 33 หรือฝึกงานตามมาตรา 35 โดยสถานประกอบการจะได้รับการลดหย่อนภาษี และเราจะจัดทำเอกสารประสานหาคนพิการพร้อมทั้งประสานหน่วยราชการให้เรียบร้อยดังนี้
- จ้างคนคนพิการ (มาตรา 33) ไปทำงานที่สถานประกอบการของท่านโดยตรง หรือทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ
- ฝึกงาน (มาตรา 35) โดยมีหลักสูตรให้เลือกจำนวน 6 หลักสูตรๆ ละ จำนวน ๖๐๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1 หลักสูตรคอลเซ็นเตอร์
2.2 หลักสูตรคอมพิวเตอร์และงานสำนักงาน
2.3 หลักสูตรคอมพิวเตอร์และการจัดการธุรกิจ
2.4 หลักสูตรวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์
2.5 หลักสูตรวิชาชีพพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้หากคนพิการฝึกอบรมจบตามหลักสูตร มาตรา 35 แล้วหากสถานประกอบการมีความประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมารตา 33 มูลนิธิฯ ยินดีส่งคนพิการให้ท่านได้พิจารณา โดยท่านสามารถเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรกคือการคัดเลือกคนพิการเข้าฝึกงานจนจบหลักสูตรได้ (มาตรา 33 สู่ มาตรา 35)
- ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1479 สายด่วนคนพิการประชารัฐ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง